File:1.Phan-Tao 2014.jpg

From Wikimedia Commons, the free media repository
Jump to navigation Jump to search

Original file(665 × 1,000 pixels, file size: 590 KB, MIME type: image/jpeg)

Captions

Captions

Add a one-line explanation of what this file represents

Summary[edit]

Description
ไทย: จากประวัติวัดพันเตาในหนังสือ “ประชุมตำนานลานนาไทยเล่ม ๑” โดยสงวน โชติสุขรัตน์ กล่าวว่า “..............

จ.ศ. ๑๒๓๗ (พ.ศ. ๒๔๑๘) ปีกุน สัปตศก วันพุธเพ็ญเดือน ๘ เจ้าอินทวิไชยานนท์เจ้านครเชียงใหม่ฉลองวิหารวัดข่วงสิงห์เหนือเวียงเชียงใหม่ วันเสาร์เดือน ๑๐ ขึ้น ๘ ค่ำ ปก (ปก-ยกเสา) วิหารวัดพันเตากลางเวียงเชียงใหม่ที่เจ้าอินทวิไชยานนท์หื้อ (หื้อ – ให้) รื้อเอาทองคำ (หอคำ - วังหรือท้องพระโรงหน้าของเจ้านครเชียงใหม่เช่นเดียวกับ วังหรือท้องพระโรงของเจ้านายทางภาคกลาง) ของพระเจ้ามโหตรประเทศไปสร้าง ..... จ.ศ. ๑๒๔๘ (พ.ศ. ๒๔๒๙) ปีจอ อัฐศก วันอาทิตย์เพ็ญเดือน ๗ พระเจ้าชีวิตวิไชยานนท์ทำบุญฉลองวิหารวัดเจดีย์หลวงแห่งหนึ่ง ฉลองวิหารวัดพันเตากลางเวียงที่รื้อเอาหอคำของ พระเจ้าชีวิตมโหตรประเทศมาสร้างแห่งหนึ่งวิหารวัด สบขมิ้นแห่งหนึ่ง วิหารหอธรรมแห่งหนึ่ง สองแห่งนี้ศรัทธาเขาสร้างต่างหาก มาฉลองพร้อมกันเป็นคราวเดียวกัน” ประวัติวัดพันเตาเท่าที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นเป็นการค้นคว้าจากเอกสาร แต่มีรายละเอียดปลีกย่อยบางประการที่น่าสนใจเกี่ยวกับตำนานของวัดพันเตานี้จากคำบอกเล่าของเจ้าคณะอำเภอ คือพระครูศรีปริยัติยานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดพันอ้น ต.พระสิงห์ อ.เมือง เชียงใหม่ ในขณะนั้น (พ.ศ. ๒๕๒๖) ได้เล่าถึงประวัติดั้งเดิมของวัดพันเตาว่ามีอายุเก่าแก่ร่วมสมัยกับวัดเจดีย์หลวง ซึ่งจากประวัติวัดเจดีย์หลวง ในรัชสมัยของพระเจ้าเมืองแก้วซึ่งทรงเป็นปนัดดา (เหลน) ของพระเจ้าติโลกราช ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๘ – ๒๐๖๘ ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเจดีย์หลวงอย่างขนานใหญ่อีกครั้ง โปรดให้ช่างหล่อพระอัฏฐารสยืนสูง ๑๘ ศอก ไว้เป็น พระประธานประจำพระอาราม ท่านพระครูศรีปริยัติยานุ รักษ์ ยังได้เล่าเพิ่มเติมอีกว่าพระประธานของวิหารวัดพันเตา นี้สร้างขึ้นพร้อมกับวิหาร วัดพันเตาตั้งอยู่ใกล้สี่แยก กลางเวียง เชียงใหม่ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาเกี่ยวข้องกับ ประวัติศาสตร์และตำนานของเมืองเชียงใหม่เป็นอย่างมาก บริเวณสี่แยกกลางเวียงเชียงใหม่นี้แต่แรกสร้างเมือง เชียงใหม่ขึ้นนั้นไม่ได้กำหนดว่าให้บริเวณนี้เป็นศูนย์กลาง หรือมีการสร้างโบราณสถานสำคัญขึ้นเป็นหลักของเมืองแต่ อย่างใดแต่บังเอิญเป็นตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับศูนย์กลางของ เมืองพอดี สี่แยกกลางเวียงนี้มีประวัติความเป็นมาตาม ตำนานว่า “..........พระเจ้าเม็งรายครองเมืองเชีงใหม่ ต่อมา จนกระทั่ง พ.ศ. ๑๘๖๐ ทรงพระชนมายุได้ ๗๙ พรรษา วันหนึ่งเสด็จไปประพาสที่ตลาดกลางเวียงเกิดอัสนีบาต ตกต้องพระองค์สวรรคตในท่ามกลางเมืองนั้น (ที่ที่พระองค์ ต้องอัสนีบาตสวรรคตนั้นที่กลางเวียงเชียงใหม่ ถนนพระ สิงห์) ดังนั้นบริเวณสี่แยกกลางเวียงและอาณาเขตใกล้เคียง กันนี้จึงเป็นเขตที่ควรอนุรักษ์และส่งเสริมเพื่อเอกลักษณ์ทาง ศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างยิ่ง

วิหารวัดพันเตา เดิมคือ หอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศ (เจ้าครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๕) ที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (เจ้าครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗) อุทิศถวายวัดให้สร้างเป็น วิหารเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๙ หอคำหลังนี้เป็นคุ้มหรือ ท้องพระโรงหน้าของพระเจ้าเชียงใหม่ เช่นเดียวกับวังหรือ ท้องพระโรงของเจ้านายทางภาคกลาง หอคำหรือวิหารหลัง นี้เป็นเรือนโบราณชั้นดีของภาคเหนือ ที่ยังคงรักษา เอกลักษณ์ของภาคเหนือไว้ได้มากที่สุดและค่อนข้างสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะได้รับการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ไปแล้ว แต่ก็มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสถาปัตยกรรมให้แตกต่างไปจากการสร้างครั้งแรกการบูรณะวิหารทำการบูรณะส่วนฐานและผนังด้านหลัง ซึ่งถูกฝนทำลายจนหลุดพังเสียหายประกอบกับเกิดน้ำท่วมเนื่องจากฝนตกหนักส่วนของผนังด้านหลังเสียหายมาก เศษไม้ที่หลุดหล่นลงมาจมน้ำ บางส่วนก็ถูกน้ำพัดไปจึงได้มีการซ่อมผนังด้านหลังโดยทำผนังคอนกรีตระหว่างช่วงเสาตรงกึ่งกลางผนังสำหรับฐานเดิมของวิหารที่เป็นเสาไม้ซึ่งมีการผุกร่อนมาก่อน ทางวัดได้ทำการเสริมฐานเสาเติมด้วยคอนกรีต และทำการก่ออิฐ โบกปูนเสริมระหว่างเสาจากบริเวณร่องตีนช้าง (ซึ่งหายไป) ลงมาจนถึงพื้นและทำพื้นซีเมนต์ปูกระเบื้องเคลือบ (ราว ๑๐ กว่าปีมาแล้ว ประมาณก่อน พ.ศ. ๒๕๑๘) ทำการซ่อมหลังคาและเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคา โครงสร้างสถาปัตยกรรมของวิหารพันเตา ตัวอาคาร เนื่องจากสถาปัตยกรรมแบบเชียงแสนส่วนใหญ่ ใช้ไม้เป็นวัสดุหลักมีโครงสร้างแบบกรอบยึดมุมมาก เสาและฝาทุกส่วนเป็นไม้โดยเฉพาะฝามีแบบวิธีการสร้างพิเศษคล้ายกับฝาปะกนของฝาไม้สมัยอยุธยา แต่มีขนาดตัวไม้ที่แน่นหนามั่นคงกว่า คือ เป็นกรอบไม้ยึดยันรูปสี่เหลี่ยม อัดช่องภายในด้วยแผ่นไม้ลูกฟัก สัดส่วนใหญ่หนากว่า ฝาปะกน การทำฝาแบบทางเหนือนี้ ใช้ตัวไม้โครงเป็นช่องตารางยึดติดกับช่วงโครงสร้างก่อนแล้วจึงบรรจุแผ่นลูกฟักภายหลังฝาแบบนี้แข็งแรงและมั่นคงเพราะต้องทำหน้าที่เป็นตัวรับน้ำหนักของส่วนบนอาคารด้วย การทำฝาผนังของวิหารวัดพันเตาก็เป็นลักษณะนี้ โดยเฉพาะวิหารนี้ฝาผนังด้านข้างจะยาวตลอดเป็นแนวเดียวกัน ไม่มีการย่อมุมซึ่งเป็นที่นิยมมากทางภาคเหนือ คือ การย่อมุมตรงมุขหน้าวิหารทั้งๆ ที่เป็นวิหารขนาดใหญ่มาก การสร้างวิหารนี้ช่างทางเหนือสามารถแก้ปัญหาที่ความรู้สึกหนักทึบของฝาผนังด้านข้างที่มีขนาดใหญ่มากๆ นี้ได้ โดยอาศัยการแบ่งพื้นที่ของผนังด้วยกรอบไม้ยึดยันรูปสี่เหลี่ยมดังที่กล่าวมาแล้ว พร้อมกันนั้นก็ใช้ประโยชน์จากฝาผนังแบบนี้ให้เป็นตัวช่วยรับน้ำหนักจากหลังคาที่มีขนาดใหญ่ตามขนาดวิหารส่วนประดับตัวอาคาร ประตู มีประตูทางเข้าทั้งหมด ๓ ทางคือ ประตูใหญ่ทางด้านหน้า ประตูด้านข้างทางด้านทิศเหนือ อยู่ค่อนมาทางประตูหน้า ทางทิศใต้อยู่ค่อนไปทางด้านหลัง ประตูที่สำคัญคือประตูด้านหน้าซึ่งประกอบด้วยซุ้มประตูไม้แกะสลักประดับกระจก เป็นรูปสัตว์ต่างๆ ได้แก่ นกยูง นาค ลิง หงส์ ประกอบลวดลายที่กรอบประตูส่วนบนเป็นโก่งคิ้วไม้แกะสลักลายดอกไม้ใบไม้ บานประตูเป็นไม้แผ่นเรียบ หน้าต่าง ทางด้านหน้าวิหาร หน้าต่างจะเป็นซุ้มไม้แกะสลักแบบทางเหนือที่หน้าบันของซุ้มหน้าต่างแกะสลักลวดลายใบไม้ดอกไม้อยู่ระหว่างซุ้ม ๒ ชั้น และภายในซุ้มชั้นในสลักเป็นรูปสัตว์คล้ายสุนัขเหมือนกับตัวสัตว์ที่อยู่ใต้นกยูงในซุ้มประตูใหญ่ เข้าใจว่าจะหมายถึงปีที่สร้างวิหาร คือ ปีจอ (การสลักรูปสัตว์ตามปีที่สร้างนี้นิยมทำกันในภาคเหนือ) สำหรับหน้าต่างด้านอื่นๆ เป็นหน้าต่าง ๒ ชั้น ชั้นนอกเป็นหน้าต่างลูกมะหวด ชั้นในเป็นหน้าต่างไม้แผ่นเรียบมีอกเลาที่ตกแต่งด้วยลายสลัก ทวย เป็นไม้แกะสลักลายนก ๓ ตัวแบบเชียงใหม่ พวกลายเมฆไหล แกะสลักเป็นรูปตัวครุฑ ๓ หัว เครื่องบน เนื่องจากวิหารวัดพันเตามีขนาดใหญ่ (ประมาณ ๒๘-๑๗ เมตร) ตัววิหารแบ่งเป็น ๗ ห้อง(แปดช่วงเสา) แต่ผนังยาวตลอดแนวเดียวกัน หลังคาจึงได้มีการลดชั้นเพื่อแก้ปัญหาความรู้สึกที่กดทับ ซึ่งจะเกิดขึ้นถ้าทำหลังคาตลอดเพียงชั้นเดียว การลดชั้นหลังคา ลดลง ๒ ชั้น ตรงระหว่าง ๓ ห้องริมสุด ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เครื่องประดับหลังคาคล้ายกับทั่วไปคือ มีช่อฟ้า รวยระกา หางหงส์ ที่เป็นเครื่องไม้แกะสลักประดับกระจก (หลุดไปเกือบหมดแล้ว) ที่สันหลังคาประดับด้วยหงส์โลหะสีเงิน โครงสร้างภายในหลังคาวิหาร มีชื่อรองรับตุ๊กตาและชื่อลอยทำแบบลูกฟักของจั่วทางด้านหน้า เพียงแต่ไม่กรุไม้ลูกฟักเท่านั้น โครงหลังคาและกรุหน้าจั่วเช่นนี้ถือว่าเป็นมงคลทางภาคกลาง เรียกว่า “แบบภควัม” โครงสร้างภายในของวิหารจะเห็นความประณีตบรรจงของการเข้าไม้ มีการลดคิ้วเส้นบัวของลูกฟักและลดคิ้วของขื่อและเต้าอย่างสวยงาม บางแห่งจะพบฝีมือการแกะสลักไม้งดงามมาก เช่น ขื่อ อกเลาหน้าต่างเป็นต้น

ขอขอบพระคุณที่มาของข้อมูล

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และ ศูนย์วัฒนธรรม สถาบันราชภัฏจังหวัดเชียงใหม่. 2535. วัดสำคัญของนคร

เชียงใหม่. เล่ม 1. เชียงใหม่ : ส ทรัพย์การพิมพ์.
This is a photo of a monument in Thailand identified by the ID
0003581 (Thai Fine Art Department's link)
Date
Source Own work
Author Roopyai Art

Licensing[edit]

I, the copyright holder of this work, hereby publish it under the following license:
w:en:Creative Commons
attribution share alike
This file is licensed under the Creative Commons Attribution-Share Alike 3.0 Unported license.
You are free:
  • to share – to copy, distribute and transmit the work
  • to remix – to adapt the work
Under the following conditions:
  • attribution – You must give appropriate credit, provide a link to the license, and indicate if changes were made. You may do so in any reasonable manner, but not in any way that suggests the licensor endorses you or your use.
  • share alike – If you remix, transform, or build upon the material, you must distribute your contributions under the same or compatible license as the original.


File history

Click on a date/time to view the file as it appeared at that time.

Date/TimeThumbnailDimensionsUserComment
current16:33, 27 September 2014Thumbnail for version as of 16:33, 27 September 2014665 × 1,000 (590 KB)Roopyai Art (talk | contribs)User created page with UploadWizard

File usage on other wikis

The following other wikis use this file:

Metadata